วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

XYLEM & PHLOEM

วันนี้สอนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของรากแล้วพบว่าภาพ vessel  member และ tracheid ในหนังสือเรียนไม่ค่อยชัดเท่าไรก็ลองลองหาภาพที่เข้าใจได้ง่ายกว่ามาให้นักเรียนดู  พบว่านักเรียนเห็นภาพนี้แล้วเข้าใจมากขึ้น

และภาพต่อไปนี้เป็นภาพของ seive tube member และ companien cell ค่ะ


ส่วนใครที่อยากชม ภาพ animation ของ seive tube member และ companien cell ให้ไปที่่
http://www.phschool.com/science/biology_place/biocoach/plants/food.html ค่ะ  รับรองว่าไม่ผิดหวัง



วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หมากผู้หมากเมีย และจันทร์ผา

             วันนี้สอนวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ว 32243 แล้วนักเรียนไม่รู้จักต้นหมากผู้หมากเมีย และจันทน์ผา  ครูก็เลยนำภาพมาให้ดู  พร้อมนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจมาฝาก  หวังว่าจะถูกใจนะจ้ะ



                      ภาพดอกหมากผู้หมากเมียจาก http://www.morninggarden.com/wiki/index.php


ชื่อสามัญ Tilong Plant Tree of Kings
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyline sp.
ตระกูล  LILIACEAE
ลักษณะทั่วไป
หมากผู้หมากเมียเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็กกลม ลำต้นมีข้อถี่ ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงส่วนยอดของลำต้น แตกใบตามข้อต้นใบเป็นรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบเรียบและมีกาบใบหุ้มลำต้นใบออกเรียงเป็นชั้นสลับกันขนาดใบและสีสรรจะแตกต่างตามชนิดพันธุ์ออกดอกเป็นช่อ ออกตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายช่อดอกมีกลุ่มดอกเล็ก ๆ สีขาว ช่อหนึ่งจะมีช่อดอกย่อยประมาณ 5-10 ดอก

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะหมากผู้หมากเมีย ต้องเป็นของคู่กันเสมอคือคู่สุขคู่สม  คู่บ้านคู่เมือ  งคนไทยโบราณนิยมปลูกไว้ประจำบ้านมาตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว  นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าใบของหมากผู้หมากเมีย ยังใช้ประกอบในงานพิธีมงคลที่สำคัญ เช่น ใช้เป็นเครื่องบูชาพระ งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร แต่สำหรับตัวเองแล้วฤกษ์สะดวกค่ะ

ส่วนภาพนี้คือต้นหมากผู้หมากเมียจ้ะ


ส่วนภาพนี้คือต้นจันทน์ผาจ้ะ

ต้นจันทน์ผาออกดอกเป็นช่อคล้ายงวงช้าง


ต้นจันทร์ผาในเดือนกรกฎมคม  เริ่มออกดูชูช่อ เหมือนงวงช้าง....มีความเชื่อและข้อสังเกตว่า บ้านใดที่ปลูกจันทร์ผาแล้วปีใด ออกดอกชูช่อ เชื่อว่า อีกเร็ววันนี้ จะมีโชคลาภ มีโอกาสพบสิ่งดีๆ เช่น การถูกฉลากรางวัล การค้าขายประสบความสำเร็จ หรือความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การรับตำแหน่งใหม่... .(โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน...)
มีบ้านใครปลูกแล้วออกดอกบ้างคะ  ถ้ามีโอกาสครูจะนำตำนานต้นจันทน์ผากับดอกเอื้องผึ้งมาเล่าให้ฟังค่ะ



วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เนื้อเยื่อเจริญ


เนื้อเยื่อเจริญ  (Meristematic  tissue  หรือ  Meristem)

(คำว่า  Meristem  มาจากภาษากรีก  Meristos แปลว่า แบ่งได้)


          เนื้อเยื่อเจริญ หมายถึง  เนื้อเยื่อที่มีเซลล์กำลังแบ่งตัวแบบ ไมโทซิส เพื่อสร้างเซลล์ใหม่  พบมากตามบริเวณปลายยอดหรือปลายราก 


        ลักษณะเด่นของเซลล์ที่อยู่ในกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญ  คือ
         เป็นเซลล์ยังมีชีวิตอยู่  มีโพรโทพลาสซึมที่ข้นมาก  ผนังเซลล์ (Cell  wall) บาง  และมักเป็นสารประกอบเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่  ในเซลล์เห็นนิวเคลียสได้ชัดเจนและมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับไซโทพลาสซึม แวคิวโอลมีขนาดเล็กหรือเกือบไม่มีแวคิวโอล  เซลล์มีรูปร่าง แตกต่างกันหลายแบบ  แต่ส่วนใหญ่รูปร่างค่อนข้างกลม หรือมีลักษณะหลายเหลี่ยม ทุกเซลล์แบ่งตัวได้  แต่ละเซลล์อยู่ชิดติดกันมากทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์  (Interacellular  space) แทบจะไม่มี  หรือไม่มีเลย  เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ        การเจริญเติบโตเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญมี  2 แบบ คือ         1.  การเจริญเติบโตขั้นแรก (Primary  growth        2.  การเจริญเติบโตขั้นที่สอง  (Secondary  growth)
        การเติบโตขั้นแรก จะทำให้รากและลำต้นมีความยาวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตขั้นที่สอง จะทำให้พืชมีความกว้างเพิ่มขึ้น
        เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่ม  คือ        การเจริญเติบโตเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญมี  2 แบบ คือ         1.  การเจริญเติบโตขั้นแรก (Primary  growth        2.  การเจริญเติบโตขั้นที่สอง  (Secondary  growth)        การเติบโตขั้นแรก จะทำให้รากและลำต้นมีความยาวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตขั้นที่สอง จะทำให้พืชมีความกว้างเพิ่มขึ้น        เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่ม  คือ



        1.  เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย  (Apical  meristem)



             เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย หรือเอพิคอลเมอริสเต็ม เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดหรือราก  รวมทั้งที่ตา (Bud) ของลำต้นของพืช  เมื่อแบ่งเซลล์แล้วทำให้ปลายยอด  หรือปลายรากยืดยาวออกไป    เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายเมื่อแบ่งเซลล์ออกมาจะกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญขั้นต้น (Primary  meristem ) ซึ่งประกอบด้วย  3  บริเวณ คือ  โพรโทเดิร์ม (Protoderm)   โพรแคมเบียม (Procambium) และ  กราวด์เมริสเต็ม  (Ground  meristem) ซึ่งจะกล่าวละเอียดในหัวข้อการเจริญเติบโตของราก และลำต้น



          2.  เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral  meristem)



                เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้างของรากหรือลำต้น  ทำการแบ่งตัวทำให้เพิ่มขนาดของรากหรือลำต้น  เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างทำให้เกิดการเจริญขั้นที่สอง  พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทั่วๆ ไป  และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น  จันทน์ผา  หมากผู้หมากเมีย  เป็นต้น  เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกได้อีกอย่างว่า  แคมเบียม (Cambium) ถ้าเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ในกลุ่มของท่อลำเลียง  เรียกว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular  cambium)  หากเนื้อเยื่อเจริญนั้นอยู่ถัดจากเนื้อเยื่อชั้นนอก ของรากหรือลำต้นเข้าไปข้างในเรียกว่า  คอร์กแคมเบียม (Cork  cambium)



           3.  เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary  meristem)

                เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ  เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่เหนือโคนปล้องหรือเหนือข้อ ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น  พบได้ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด  เช่น  หญ้า  ข้าว  ข้าวโพด  ไผ่  อ้อย เป็นต้น



วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
           หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่แสดงสมบัติของชีวิตได้คือ  เซลล์ 




           เซลล์ที่มีรูปร่างลักษณะเหมือน ๆ กัน ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน คือ  เนื้อเยื่อ (Tissue



           เนื้อเยื่อหลาย ๆ ชนิดร่วมกันทำงานทำให้เกิด  อวัยวะ (Organ)



           อวัยวะหลายๆ อย่างร่วมกันทำงานเกิดเป็นระบบอวัยวะ  (Organ  system

           นั่นหมายถึงสัตว์เป็นส่วนใหญ่  สำหรับพืชย่อมมีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ออกไปตั้งแต่ระดับเซลล์  ไม่ว่าจะเป็นผนังเซลล์   แวคิวโอล  คลอโรพลาสต์  เป็นต้น  ส่วนในระดับเนื้อเยื่อของพืชยิ่งมีความแตกต่างจากเนื้อเยื่อสัตว์ออกไปอีก  ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป
           เริ่มอยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง  มาเรียนรู้กันต่อได้เลยค่ะ

รูปที่   1  เซลล์พืช และส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืช

เนื้อเยื่อของพืช

                              เนื้อเยื่อของพืชชั้นสูง  (Plant  tissue) หรือเนื้อเยื่อของพืชดอกมีน้อยชนิดกว่าเนื้อเยื่อสัตว์  โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ เท่านั้น  คือ  
            1.  เนื้อเยื่อเจริญ  (Meristematic  tissue  หรือ  Meristem)

            2. เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue

            ซึ่งเนื้อเยื่อทั้ง  2  ชนิดนี้มีความแตกต่างกันที่เนื้อเยื่อเจริญยังคงมีการแบ่งเซลล์ได้อยู่  ทำให้มีการเจริญเติบโตต่อไปอีก  ส่วนเนื้อเยื่อถาวรจะไม่มีการแบ่งเซลล์อีกหรือไม่มีการเจริญเติบโตต่อไปอีก
            เริ่มสนุกกับการเรียนรู้เรื่องเนื้อเยื่อพืชแล้วใช่ไหมคะ  ส่วนรายละเอียดย่อยเดี๋ยวเราค่อยมาเรียนรู้ต่อนะคะ