วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เนื้อเยื่อเจริญ


เนื้อเยื่อเจริญ  (Meristematic  tissue  หรือ  Meristem)

(คำว่า  Meristem  มาจากภาษากรีก  Meristos แปลว่า แบ่งได้)


          เนื้อเยื่อเจริญ หมายถึง  เนื้อเยื่อที่มีเซลล์กำลังแบ่งตัวแบบ ไมโทซิส เพื่อสร้างเซลล์ใหม่  พบมากตามบริเวณปลายยอดหรือปลายราก 


        ลักษณะเด่นของเซลล์ที่อยู่ในกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญ  คือ
         เป็นเซลล์ยังมีชีวิตอยู่  มีโพรโทพลาสซึมที่ข้นมาก  ผนังเซลล์ (Cell  wall) บาง  และมักเป็นสารประกอบเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่  ในเซลล์เห็นนิวเคลียสได้ชัดเจนและมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับไซโทพลาสซึม แวคิวโอลมีขนาดเล็กหรือเกือบไม่มีแวคิวโอล  เซลล์มีรูปร่าง แตกต่างกันหลายแบบ  แต่ส่วนใหญ่รูปร่างค่อนข้างกลม หรือมีลักษณะหลายเหลี่ยม ทุกเซลล์แบ่งตัวได้  แต่ละเซลล์อยู่ชิดติดกันมากทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์  (Interacellular  space) แทบจะไม่มี  หรือไม่มีเลย  เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ        การเจริญเติบโตเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญมี  2 แบบ คือ         1.  การเจริญเติบโตขั้นแรก (Primary  growth        2.  การเจริญเติบโตขั้นที่สอง  (Secondary  growth)
        การเติบโตขั้นแรก จะทำให้รากและลำต้นมีความยาวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตขั้นที่สอง จะทำให้พืชมีความกว้างเพิ่มขึ้น
        เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่ม  คือ        การเจริญเติบโตเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญมี  2 แบบ คือ         1.  การเจริญเติบโตขั้นแรก (Primary  growth        2.  การเจริญเติบโตขั้นที่สอง  (Secondary  growth)        การเติบโตขั้นแรก จะทำให้รากและลำต้นมีความยาวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตขั้นที่สอง จะทำให้พืชมีความกว้างเพิ่มขึ้น        เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่ม  คือ



        1.  เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย  (Apical  meristem)



             เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย หรือเอพิคอลเมอริสเต็ม เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดหรือราก  รวมทั้งที่ตา (Bud) ของลำต้นของพืช  เมื่อแบ่งเซลล์แล้วทำให้ปลายยอด  หรือปลายรากยืดยาวออกไป    เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายเมื่อแบ่งเซลล์ออกมาจะกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญขั้นต้น (Primary  meristem ) ซึ่งประกอบด้วย  3  บริเวณ คือ  โพรโทเดิร์ม (Protoderm)   โพรแคมเบียม (Procambium) และ  กราวด์เมริสเต็ม  (Ground  meristem) ซึ่งจะกล่าวละเอียดในหัวข้อการเจริญเติบโตของราก และลำต้น



          2.  เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral  meristem)



                เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้างของรากหรือลำต้น  ทำการแบ่งตัวทำให้เพิ่มขนาดของรากหรือลำต้น  เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างทำให้เกิดการเจริญขั้นที่สอง  พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทั่วๆ ไป  และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น  จันทน์ผา  หมากผู้หมากเมีย  เป็นต้น  เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกได้อีกอย่างว่า  แคมเบียม (Cambium) ถ้าเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ในกลุ่มของท่อลำเลียง  เรียกว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular  cambium)  หากเนื้อเยื่อเจริญนั้นอยู่ถัดจากเนื้อเยื่อชั้นนอก ของรากหรือลำต้นเข้าไปข้างในเรียกว่า  คอร์กแคมเบียม (Cork  cambium)



           3.  เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary  meristem)

                เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ  เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่เหนือโคนปล้องหรือเหนือข้อ ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น  พบได้ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด  เช่น  หญ้า  ข้าว  ข้าวโพด  ไผ่  อ้อย เป็นต้น




9 ความคิดเห็น:

  1. อ่านแล้วได้ความรู้มากเลยค่ะ ขอบคุณนะค่ะ ที่ได้ทำขึ้นเพื่อให้เราศึกษา
    นางสาว สิริพร พึ่งพิมาย ชั้นม. 5/2 เลขที่ 31

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ28 ตุลาคม 2555 เวลา 04:09

    ได้ความรู้มากเรยค่ะขอบคุณนค่ะสำหรับการเรียนการสอนที่ดีแบบนี้ทำให้ไม่น่าเบื่อเรยค่ะ
    นางสาว รพีพรรณ รักไร่ เลขที่ 23 ม. 5/2

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ28 ตุลาคม 2555 เวลา 04:12

    ได้ความรู้มากเรยค่ะคุณครูกำลังอยากรู้เพิ่มเติมพอดีเรย
    นางาสว อรพิม สาตรา เลขที่ 27 ม.5/2

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ29 ตุลาคม 2555 เวลา 01:06

    เข้าใจมากขึ้นเยอะมากเลยค่ะ สุพรรษา ผลพิมาย 5/2 เลขที่ 25

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ29 ตุลาคม 2555 เวลา 01:20

    ได้ความรู้มากค่ะ
    นางสาว ขนิษฐา อิ่มมณี เลขที่ 35 ชั้น ม 5/2

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ29 ตุลาคม 2555 เวลา 01:24

    ได้ความรู้และมีประโยชน์มากๆๆค่ะ
    นางสาว มุฑิตา คิดได้ เลขที่36 ชั้นม. 5/2

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ29 ตุลาคม 2555 เวลา 01:27

    ได้ความรู้มากมายค่ะ
    นางสาว กรรณิกา ราตพันธ์ เลขที่ 29

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ29 ตุลาคม 2555 เวลา 01:31

    ได้สาระมากเรยค่ะ
    นางสาว เสาลักษณ์ เทพตาแสง เลขที่ 39 ม.5/2

    ตอบลบ