วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

XYLEM & PHLOEM

วันนี้สอนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของรากแล้วพบว่าภาพ vessel  member และ tracheid ในหนังสือเรียนไม่ค่อยชัดเท่าไรก็ลองลองหาภาพที่เข้าใจได้ง่ายกว่ามาให้นักเรียนดู  พบว่านักเรียนเห็นภาพนี้แล้วเข้าใจมากขึ้น

และภาพต่อไปนี้เป็นภาพของ seive tube member และ companien cell ค่ะ


ส่วนใครที่อยากชม ภาพ animation ของ seive tube member และ companien cell ให้ไปที่่
http://www.phschool.com/science/biology_place/biocoach/plants/food.html ค่ะ  รับรองว่าไม่ผิดหวัง



วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หมากผู้หมากเมีย และจันทร์ผา

             วันนี้สอนวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ว 32243 แล้วนักเรียนไม่รู้จักต้นหมากผู้หมากเมีย และจันทน์ผา  ครูก็เลยนำภาพมาให้ดู  พร้อมนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจมาฝาก  หวังว่าจะถูกใจนะจ้ะ



                      ภาพดอกหมากผู้หมากเมียจาก http://www.morninggarden.com/wiki/index.php


ชื่อสามัญ Tilong Plant Tree of Kings
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyline sp.
ตระกูล  LILIACEAE
ลักษณะทั่วไป
หมากผู้หมากเมียเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็กกลม ลำต้นมีข้อถี่ ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงส่วนยอดของลำต้น แตกใบตามข้อต้นใบเป็นรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบเรียบและมีกาบใบหุ้มลำต้นใบออกเรียงเป็นชั้นสลับกันขนาดใบและสีสรรจะแตกต่างตามชนิดพันธุ์ออกดอกเป็นช่อ ออกตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายช่อดอกมีกลุ่มดอกเล็ก ๆ สีขาว ช่อหนึ่งจะมีช่อดอกย่อยประมาณ 5-10 ดอก

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะหมากผู้หมากเมีย ต้องเป็นของคู่กันเสมอคือคู่สุขคู่สม  คู่บ้านคู่เมือ  งคนไทยโบราณนิยมปลูกไว้ประจำบ้านมาตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว  นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าใบของหมากผู้หมากเมีย ยังใช้ประกอบในงานพิธีมงคลที่สำคัญ เช่น ใช้เป็นเครื่องบูชาพระ งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร แต่สำหรับตัวเองแล้วฤกษ์สะดวกค่ะ

ส่วนภาพนี้คือต้นหมากผู้หมากเมียจ้ะ


ส่วนภาพนี้คือต้นจันทน์ผาจ้ะ

ต้นจันทน์ผาออกดอกเป็นช่อคล้ายงวงช้าง


ต้นจันทร์ผาในเดือนกรกฎมคม  เริ่มออกดูชูช่อ เหมือนงวงช้าง....มีความเชื่อและข้อสังเกตว่า บ้านใดที่ปลูกจันทร์ผาแล้วปีใด ออกดอกชูช่อ เชื่อว่า อีกเร็ววันนี้ จะมีโชคลาภ มีโอกาสพบสิ่งดีๆ เช่น การถูกฉลากรางวัล การค้าขายประสบความสำเร็จ หรือความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การรับตำแหน่งใหม่... .(โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน...)
มีบ้านใครปลูกแล้วออกดอกบ้างคะ  ถ้ามีโอกาสครูจะนำตำนานต้นจันทน์ผากับดอกเอื้องผึ้งมาเล่าให้ฟังค่ะ



วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เนื้อเยื่อเจริญ


เนื้อเยื่อเจริญ  (Meristematic  tissue  หรือ  Meristem)

(คำว่า  Meristem  มาจากภาษากรีก  Meristos แปลว่า แบ่งได้)


          เนื้อเยื่อเจริญ หมายถึง  เนื้อเยื่อที่มีเซลล์กำลังแบ่งตัวแบบ ไมโทซิส เพื่อสร้างเซลล์ใหม่  พบมากตามบริเวณปลายยอดหรือปลายราก 


        ลักษณะเด่นของเซลล์ที่อยู่ในกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญ  คือ
         เป็นเซลล์ยังมีชีวิตอยู่  มีโพรโทพลาสซึมที่ข้นมาก  ผนังเซลล์ (Cell  wall) บาง  และมักเป็นสารประกอบเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่  ในเซลล์เห็นนิวเคลียสได้ชัดเจนและมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับไซโทพลาสซึม แวคิวโอลมีขนาดเล็กหรือเกือบไม่มีแวคิวโอล  เซลล์มีรูปร่าง แตกต่างกันหลายแบบ  แต่ส่วนใหญ่รูปร่างค่อนข้างกลม หรือมีลักษณะหลายเหลี่ยม ทุกเซลล์แบ่งตัวได้  แต่ละเซลล์อยู่ชิดติดกันมากทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์  (Interacellular  space) แทบจะไม่มี  หรือไม่มีเลย  เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ        การเจริญเติบโตเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญมี  2 แบบ คือ         1.  การเจริญเติบโตขั้นแรก (Primary  growth        2.  การเจริญเติบโตขั้นที่สอง  (Secondary  growth)
        การเติบโตขั้นแรก จะทำให้รากและลำต้นมีความยาวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตขั้นที่สอง จะทำให้พืชมีความกว้างเพิ่มขึ้น
        เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่ม  คือ        การเจริญเติบโตเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญมี  2 แบบ คือ         1.  การเจริญเติบโตขั้นแรก (Primary  growth        2.  การเจริญเติบโตขั้นที่สอง  (Secondary  growth)        การเติบโตขั้นแรก จะทำให้รากและลำต้นมีความยาวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตขั้นที่สอง จะทำให้พืชมีความกว้างเพิ่มขึ้น        เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่ม  คือ



        1.  เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย  (Apical  meristem)



             เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย หรือเอพิคอลเมอริสเต็ม เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดหรือราก  รวมทั้งที่ตา (Bud) ของลำต้นของพืช  เมื่อแบ่งเซลล์แล้วทำให้ปลายยอด  หรือปลายรากยืดยาวออกไป    เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายเมื่อแบ่งเซลล์ออกมาจะกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญขั้นต้น (Primary  meristem ) ซึ่งประกอบด้วย  3  บริเวณ คือ  โพรโทเดิร์ม (Protoderm)   โพรแคมเบียม (Procambium) และ  กราวด์เมริสเต็ม  (Ground  meristem) ซึ่งจะกล่าวละเอียดในหัวข้อการเจริญเติบโตของราก และลำต้น



          2.  เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral  meristem)



                เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้างของรากหรือลำต้น  ทำการแบ่งตัวทำให้เพิ่มขนาดของรากหรือลำต้น  เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างทำให้เกิดการเจริญขั้นที่สอง  พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทั่วๆ ไป  และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น  จันทน์ผา  หมากผู้หมากเมีย  เป็นต้น  เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกได้อีกอย่างว่า  แคมเบียม (Cambium) ถ้าเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ในกลุ่มของท่อลำเลียง  เรียกว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular  cambium)  หากเนื้อเยื่อเจริญนั้นอยู่ถัดจากเนื้อเยื่อชั้นนอก ของรากหรือลำต้นเข้าไปข้างในเรียกว่า  คอร์กแคมเบียม (Cork  cambium)



           3.  เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary  meristem)

                เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ  เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่เหนือโคนปล้องหรือเหนือข้อ ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น  พบได้ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด  เช่น  หญ้า  ข้าว  ข้าวโพด  ไผ่  อ้อย เป็นต้น



วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
           หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่แสดงสมบัติของชีวิตได้คือ  เซลล์ 




           เซลล์ที่มีรูปร่างลักษณะเหมือน ๆ กัน ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน คือ  เนื้อเยื่อ (Tissue



           เนื้อเยื่อหลาย ๆ ชนิดร่วมกันทำงานทำให้เกิด  อวัยวะ (Organ)



           อวัยวะหลายๆ อย่างร่วมกันทำงานเกิดเป็นระบบอวัยวะ  (Organ  system

           นั่นหมายถึงสัตว์เป็นส่วนใหญ่  สำหรับพืชย่อมมีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ออกไปตั้งแต่ระดับเซลล์  ไม่ว่าจะเป็นผนังเซลล์   แวคิวโอล  คลอโรพลาสต์  เป็นต้น  ส่วนในระดับเนื้อเยื่อของพืชยิ่งมีความแตกต่างจากเนื้อเยื่อสัตว์ออกไปอีก  ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป
           เริ่มอยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง  มาเรียนรู้กันต่อได้เลยค่ะ

รูปที่   1  เซลล์พืช และส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืช

เนื้อเยื่อของพืช

                              เนื้อเยื่อของพืชชั้นสูง  (Plant  tissue) หรือเนื้อเยื่อของพืชดอกมีน้อยชนิดกว่าเนื้อเยื่อสัตว์  โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ เท่านั้น  คือ  
            1.  เนื้อเยื่อเจริญ  (Meristematic  tissue  หรือ  Meristem)

            2. เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue

            ซึ่งเนื้อเยื่อทั้ง  2  ชนิดนี้มีความแตกต่างกันที่เนื้อเยื่อเจริญยังคงมีการแบ่งเซลล์ได้อยู่  ทำให้มีการเจริญเติบโตต่อไปอีก  ส่วนเนื้อเยื่อถาวรจะไม่มีการแบ่งเซลล์อีกหรือไม่มีการเจริญเติบโตต่อไปอีก
            เริ่มสนุกกับการเรียนรู้เรื่องเนื้อเยื่อพืชแล้วใช่ไหมคะ  ส่วนรายละเอียดย่อยเดี๋ยวเราค่อยมาเรียนรู้ต่อนะคะ




วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบต่อมไร้ท่อ

                                 ระบบต่าง ๆ ของร่างกายมีการทำงานประสานกัน  เพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น  ระบบที่สำคัญที่ช่วยให้ร่างกายมีการประสานงานของอวัยวะต่าง ๆ มีอยู่  2  ระบบ  คือ 

                                1.  ระบบประสาท (nervous  system)  

                               2.  ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) 

                               ระบบประสาท      ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย  โดยอาศัยเซลล์ประสาทและเส้นใยประสาท  เพื่อนำกระแสประสาท (impules) ไปควบคุมประสานงานระหว่างอวัยวะที่อยู่ห่างไกล  การควบคุมโดยระบบประสาทจะเกิดอย่างรวดเร็วฉับไว  แต่ให้ผลไม่นานเพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อภัยอันตรายในทันทีทันใด  ส่วนระบบต่อมไร้ท่อเป็นระบบสื่อสารภายในร่างกายทำหน้าที่ควบคุม  ประสานกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย  มีลักษณะการทำงานที่ค่อนข้างช้า  ค่อยเป็นค่อยไป  แต่ให้ผลการทำงานนาน  เช่น  ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย  โดยระบบต่อมไร้ท่อจะสร้างสารเคมีที่เรียกว่า  ฮอร์โมน(hormone) ส่งไปตามระบบหมุนเวียนเลือดไปยังอวัยวะเป้าหมาย (target  organ) ซึ่งเป็นอวัยวะที่จะตอบสนองต่อฮอร์โมนเหล่านี้

                         ต่อมไร้ท่อ    ในปี  พ. ศ.  2391  ศาสตราจารย์ เบอร์โทลด์( A.A Berthold) ผู้เชี่ยวชาญทางสรีรวิทยา ชาวเยอรมันทดลองตัดอัณฑะของลูกไก่ตัวผู้ออก  พบว่าไก่ยังเจริญเติบโตได้เป็นปกติ  แต่มีลักษณะคล้ายไก่ตัวเมีย  คือ  มีหงอนและเหนียงขนาดเล็ก (ดังรูปที่    ข.) มีน้ำหนักตัวเพิ่ม  ต่อมาเขาทดลองใหม่โดยตัดอัณฑะของลูกไก่ตัวผู้ออก  แล้วตัดอัณฑะจากลูกไก่ตัวอื่นปะเข้าไปแทนที่อัณฑะเดิม  โดยปะในช่องท้องตำแหน่งต่ำกว่าอัณฑะเดิม  ปรากฏว่าได้ไก่ขนาดใหญ่  หงอนและเหนียงใหญ่  ขนที่หางยาวและปราดเปรียว  ดังรูปที่    ค. 

                                      จากการทดลองที่กล่าวมาแล้ว  จะเห็นว่าบริเวณที่อัณฑะกับหงอนและเหนียงอยู่นั้นห่างไกลกัน  แต่มีความสัมพันธ์กัน  ต่อมาจึงทราบกันว่าอัณฑะควบคุมการเจริญของลักษณะที่สองของเพศในไก่  อันได้แก่  หงอนไก่และเหนียงไก่  โดยอวัยวะเพศสร้างสารเคมีขึ้นมาแล้วส่งจากอัณฑะไปตามระบบหมุนเวียนเลือดไปยังหงอนและเหนียง   สารเคมีที่อวัยวะเพศนี้เองเชื่อกันว่ามีบทบาทต่อการพัฒนาลักษณะที่เกี่ยวกับเพศ

                                       ในระยะต่อมามีการศึกษาพบว่าในร่างกายของแมลง  สัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งคน  มีกระบวนการสร้างสารเคมีหลายชนิด  เมื่อสร้างสารเคมีเหล่านั้นถูกลำเลียงไปตามระบบหมุนเวียนเลือด  เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย  ควบคุมลักษณะทางเพศ  รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ หลายระบบ  เช่น ระบบสืบพันธุ์  ระบบขับถ่าย  ตลอดจนกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย   และเรียกสารเคมีนั้น    ว่า  ฮอร์โมน (hormone) โดยสร้างออกมาจากต่อมไร้ท่อ (endocrine gland

                                   

ฮอร์โมนเป็นสารเคมี แบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่ม คือ
                1.  กลุ่มสเตอรอยด์ (steroid  hormone)
                กลุ่มสเตอรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากต่อมหมวกไต ( adrenal gland) และฮอร์โมนเพศ  จากรังไข่  (ovary) และอัณฑะ (testis) สเตอรอยด์ฮอร์โมนไม่ละลายในน้ำ  และไม่ถูกเก็บไว้ในต่อมที่สร้าง  เมื่อสร้างขึ้นแล้วจะส่งไปยังอวัยวะเป้าหมายในทันที  ระดับฮอร์โมนค่อนข้างคงที่
                2.  กลุ่มเอมีน (amines  hormone)
                ลุ่มเอมีน  เป็นฮอร์โมนที่ได้จากกรดอะมิโนเชื่อมกันแล้วตัดหมู่คาร์บอกซิลออก  จะได้เอมีน  ฮอร์โมนกลุ่มนี้ละลายน้ำได้  สร้างขึ้นและเก็บไว้ในรูปแกรนูลหรือคอลลอยด์  มีระดับฮอร์โมนไม่แน่นอน  สูง ๆ ต่ำ ได้แก่  ฮอร์โมน ไทรอกซิน (thyroxin) และแคทีโคลามิน  (catecholamine) (ประกอบด้วยอะดรีนาลินและนอร์อะดรินาลิน)
                3.  กลุ่มเพปไทด์หรือโปรตีน (peptide hormone  หรือ  protein  hormone)
                กลุ่มเพปไทด์  หรือโปรตีน  ประกอบด้วยกรดอะมิโนมาต่อกัน  ฮอร์โมนนี้ละลานน้ำได้  สร้างและเก็บไว้ในต่อมที่สร้างในรูปของแกรนูล  และระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเร็ว  ได้แก่ ฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส  ต่อมใต้สมอง  ตับอ่อน  และต่อมพาราไทรอยด์

                                      อวัยวะที่สร้างฮอร์โมน  คือ   ต่อมไร้ท่อ          ซึ่งแตกต่างจากต่อมมีท่อ  เช่น  ต่อมน้ำลาย หรือตับอ่อน  หรือต่อมเหงื่อที่มีท่อนำสารที่สร้างขึ้นออกไปจาต่อม  แต่ต่อมไร้ท่อไม่มีท่อที่จะนำสารที่สร้างหรือที่เรียกกันว่า  ฮอร์โมน  ไปยังอวัยวะเป้าหมายต้องอาศัยการนำของระบบหมุนเวียนเลือดเป็นตัวนำไป  และสามารถส่งไปยังอวัยวะเป้าหมายได้ทั่วร่างกาย

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว


 amoeba
   
        เซลล์ของอะมีบาจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำตลอดเวลาจึงมีการแลกเปลี่ยนแก๊สกับสิ่งแวดล้อมผ่านทาง เยื่อหุ้มเซลล์ โดยตรง

                                                       paramecium


        เซลล์ของพารามีเซียมจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำตลอดเวลาจึงมีการแลกเปลี่ยนแก๊สกับสิ่งแวดล้อมผ่านทาง เยื่อหุ้มเซลล์ โดยตรง



การแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
ขนาดเล็ก

hydra

planaria
sponge

       ฟองน้ำ  ไฮดรา  พลานาเรีย















 

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

มารู้จักสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วกัน

           ไฮดรา (Hydras) เป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวประมาณ 0.5-1 นิ้ว สืบพันธุ์ด้วยการแตกหน่อพบได้ในแหล่งน้ำนิ่งดำรงชีวิต อย่างง่าย ๆ ตามคูน้ำ หรือสระน้ำ ซึ่งมีระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน เราจัดไฮดราให้อยู่ในจำพวกเดียวกับแมงกะพรุนแต่มีขนาด ตัวเล็กกว่าแมงกะพรุนมาก โดยเฉพาะลำตัวไฮดราจะใสจึงยากแก่การสังเกตสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

          มีลำตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอกสูง ปลายด้าน หนึ่ง ประกอบด้วยหนวดเส้นเล็กล้อมรอบปาก โดยไฮดราจะใช้หนวดมัดอาหารเข้าทางช่อง ปากเพื่อเข้าในช่องว่างภายในลำตัว อาหารของไฮดราคือ ไรน้ำ (Daphia) หรือลูกไร (Cyclops) นอกจากหนวดของไฮดราจะทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนที่ และจับอาหารแล้ว บริเวณหนวดของไฮดรามีบางเซลล์เปลี่ยนไปเป็นเข็มพิษ เมื่อไฮดรา ต้องการล่าเหยื่อ หรือทำลายศัตรูก็จะใช้หนวดปกป้องตัวเอง โดยใช้หนวดรัดและปล่อยเข็ม พิษออกมา แต่เข็มพิษของไฮดรา ไม่ทำให้มนุษย์เกิดการเจ็บปวดแต่อย่างไร

         ลำตัวของไฮดราบางครั้งจะพบปุ่มเล็ก ๆ ยื่นยาวออกมาข้างลำตัว เรียกกันทั่วไปว่า      หน่อ (Bud) หน่อเหล่านี้สามารถหลุดออกมาเจริญเป็นตัวไฮดราใหม่ได้ เรียกการสืบพันธุ์วิธีนี้ว่าการแตกหน่อ (Budding) แต่ไฮดราก็มี  อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (testis) ซึ่งเป็นปุ่มเล็ก ๆ อยู่ตอนบนของลำตัว และมีอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (Ovary) ซึ่งเป็นปุ่ม เล็ก ๆ อยู่ตอนล่างไว้สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้อีกด้วย

          ลำตัวของไฮดราจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายๆ เซลล์ จัดเรียงเป็นเนื้อเยื่อ 2ชั้น         ชั้นนอกสุด (ectoderm) จะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ในเรื่องการรับสัมผัส ส่วน       เนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) จะมีเซลล์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยสลายอาหาร