วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การคายน้ำของพืช


การคายน้ำของพืช
พืชนำน้ำเพียงส่วนน้อยจากที่ดูดขึ้นมาจากดินไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึม  เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำทั้งหมดที่นำเข้าสู่พืช  เช่น  ข้าวโพดต้นหนึ่งเมื่อเจริญจนครบวงชีวิต  ต้องใช้น้ำทั้งสิ้นประมาณ  243  ลิตร  ส่วนใหญ่พืชสูญเสียน้ำไปมากถึง  98% ออกไปในรูปของไอน้ำสู่บรรยากาศ  โดยการคายน้ำ (Transpiration) ผ่านปากใบเป็นส่วนใหญ่  และผ่านผิวใบได้เล็กน้อย
 
หลังจากฝนตกหนักใหม่ ๆ ความชื้นของอากาศอยู่ในสภาพเกือบอิ่มตัว  อุณหภูมิลดลง  หากไม่มีแสงสว่างด้วยแล้ว  พืชไม่สามารถคายน้ำได้อย่างปกติ  แต่ภายในพืชมีแรงดันรากที่สามารถดันน้ำจากรากไปยังส่วนอื่น ๆ ของพืชได้เสมอ  แต่ใบไม่สามารถปล่อยน้ำออกทางปากใบได้ด้วยการคายน้ำ  น้ำจึงถูกปล่อยออกทางรูเล็ก ๆ ที่ผิวใบที่เรียกว่า  ไฮดาโทด  (Hydathode) ซึ่งอยู่บริเวณปลายสุดของเส้นใบ  การเสียน้ำในรูปของหยดน้ำเช่นนี้   เรียกว่า  กัตเตชัน  (Guttation)  การเกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดไม่บ่อยนัก