วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบต่อมไร้ท่อ

                                 ระบบต่าง ๆ ของร่างกายมีการทำงานประสานกัน  เพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น  ระบบที่สำคัญที่ช่วยให้ร่างกายมีการประสานงานของอวัยวะต่าง ๆ มีอยู่  2  ระบบ  คือ 

                                1.  ระบบประสาท (nervous  system)  

                               2.  ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) 

                               ระบบประสาท      ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย  โดยอาศัยเซลล์ประสาทและเส้นใยประสาท  เพื่อนำกระแสประสาท (impules) ไปควบคุมประสานงานระหว่างอวัยวะที่อยู่ห่างไกล  การควบคุมโดยระบบประสาทจะเกิดอย่างรวดเร็วฉับไว  แต่ให้ผลไม่นานเพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อภัยอันตรายในทันทีทันใด  ส่วนระบบต่อมไร้ท่อเป็นระบบสื่อสารภายในร่างกายทำหน้าที่ควบคุม  ประสานกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย  มีลักษณะการทำงานที่ค่อนข้างช้า  ค่อยเป็นค่อยไป  แต่ให้ผลการทำงานนาน  เช่น  ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย  โดยระบบต่อมไร้ท่อจะสร้างสารเคมีที่เรียกว่า  ฮอร์โมน(hormone) ส่งไปตามระบบหมุนเวียนเลือดไปยังอวัยวะเป้าหมาย (target  organ) ซึ่งเป็นอวัยวะที่จะตอบสนองต่อฮอร์โมนเหล่านี้

                         ต่อมไร้ท่อ    ในปี  พ. ศ.  2391  ศาสตราจารย์ เบอร์โทลด์( A.A Berthold) ผู้เชี่ยวชาญทางสรีรวิทยา ชาวเยอรมันทดลองตัดอัณฑะของลูกไก่ตัวผู้ออก  พบว่าไก่ยังเจริญเติบโตได้เป็นปกติ  แต่มีลักษณะคล้ายไก่ตัวเมีย  คือ  มีหงอนและเหนียงขนาดเล็ก (ดังรูปที่    ข.) มีน้ำหนักตัวเพิ่ม  ต่อมาเขาทดลองใหม่โดยตัดอัณฑะของลูกไก่ตัวผู้ออก  แล้วตัดอัณฑะจากลูกไก่ตัวอื่นปะเข้าไปแทนที่อัณฑะเดิม  โดยปะในช่องท้องตำแหน่งต่ำกว่าอัณฑะเดิม  ปรากฏว่าได้ไก่ขนาดใหญ่  หงอนและเหนียงใหญ่  ขนที่หางยาวและปราดเปรียว  ดังรูปที่    ค. 

                                      จากการทดลองที่กล่าวมาแล้ว  จะเห็นว่าบริเวณที่อัณฑะกับหงอนและเหนียงอยู่นั้นห่างไกลกัน  แต่มีความสัมพันธ์กัน  ต่อมาจึงทราบกันว่าอัณฑะควบคุมการเจริญของลักษณะที่สองของเพศในไก่  อันได้แก่  หงอนไก่และเหนียงไก่  โดยอวัยวะเพศสร้างสารเคมีขึ้นมาแล้วส่งจากอัณฑะไปตามระบบหมุนเวียนเลือดไปยังหงอนและเหนียง   สารเคมีที่อวัยวะเพศนี้เองเชื่อกันว่ามีบทบาทต่อการพัฒนาลักษณะที่เกี่ยวกับเพศ

                                       ในระยะต่อมามีการศึกษาพบว่าในร่างกายของแมลง  สัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งคน  มีกระบวนการสร้างสารเคมีหลายชนิด  เมื่อสร้างสารเคมีเหล่านั้นถูกลำเลียงไปตามระบบหมุนเวียนเลือด  เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย  ควบคุมลักษณะทางเพศ  รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ หลายระบบ  เช่น ระบบสืบพันธุ์  ระบบขับถ่าย  ตลอดจนกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย   และเรียกสารเคมีนั้น    ว่า  ฮอร์โมน (hormone) โดยสร้างออกมาจากต่อมไร้ท่อ (endocrine gland

                                   

ฮอร์โมนเป็นสารเคมี แบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่ม คือ
                1.  กลุ่มสเตอรอยด์ (steroid  hormone)
                กลุ่มสเตอรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากต่อมหมวกไต ( adrenal gland) และฮอร์โมนเพศ  จากรังไข่  (ovary) และอัณฑะ (testis) สเตอรอยด์ฮอร์โมนไม่ละลายในน้ำ  และไม่ถูกเก็บไว้ในต่อมที่สร้าง  เมื่อสร้างขึ้นแล้วจะส่งไปยังอวัยวะเป้าหมายในทันที  ระดับฮอร์โมนค่อนข้างคงที่
                2.  กลุ่มเอมีน (amines  hormone)
                ลุ่มเอมีน  เป็นฮอร์โมนที่ได้จากกรดอะมิโนเชื่อมกันแล้วตัดหมู่คาร์บอกซิลออก  จะได้เอมีน  ฮอร์โมนกลุ่มนี้ละลายน้ำได้  สร้างขึ้นและเก็บไว้ในรูปแกรนูลหรือคอลลอยด์  มีระดับฮอร์โมนไม่แน่นอน  สูง ๆ ต่ำ ได้แก่  ฮอร์โมน ไทรอกซิน (thyroxin) และแคทีโคลามิน  (catecholamine) (ประกอบด้วยอะดรีนาลินและนอร์อะดรินาลิน)
                3.  กลุ่มเพปไทด์หรือโปรตีน (peptide hormone  หรือ  protein  hormone)
                กลุ่มเพปไทด์  หรือโปรตีน  ประกอบด้วยกรดอะมิโนมาต่อกัน  ฮอร์โมนนี้ละลานน้ำได้  สร้างและเก็บไว้ในต่อมที่สร้างในรูปของแกรนูล  และระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเร็ว  ได้แก่ ฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส  ต่อมใต้สมอง  ตับอ่อน  และต่อมพาราไทรอยด์

                                      อวัยวะที่สร้างฮอร์โมน  คือ   ต่อมไร้ท่อ          ซึ่งแตกต่างจากต่อมมีท่อ  เช่น  ต่อมน้ำลาย หรือตับอ่อน  หรือต่อมเหงื่อที่มีท่อนำสารที่สร้างขึ้นออกไปจาต่อม  แต่ต่อมไร้ท่อไม่มีท่อที่จะนำสารที่สร้างหรือที่เรียกกันว่า  ฮอร์โมน  ไปยังอวัยวะเป้าหมายต้องอาศัยการนำของระบบหมุนเวียนเลือดเป็นตัวนำไป  และสามารถส่งไปยังอวัยวะเป้าหมายได้ทั่วร่างกาย